วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

ดอกนางพญาเสือโคร่ง



นางพญาเสือโคร่ง


นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides) เป็นพืชดอกในวงศ์ Rosaceae พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง ลักษณะการชม ก็จะไปชมไกล ๆ แบบทัศนียภาพให้เห็นเกลื่อนไป ทั้งดอย ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ฉวีวรรณ, ชมพูภูพิงค์ (เหนือ) เส่คาแว่, เส่แผ่, แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากุระดอย (เชียงใหม่)
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน พบอยู่กในป่าที่ระดับความสูง 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลใน
ประเทศไทย พบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,00-2,000 เมตร เช่น บนดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว ฯลฯ
- ลักษณะทางวัฒวิทยา :
นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 ฌวนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอก ออกดอระหว่างดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
- การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
- การปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ : ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย
- การใช้ประโยชน์ : ผลของพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม

*ที่มา wikipedia

ดอกชมพูภูคา


ชมพูภูคา
หนึ่งเดียวในโลกที่ดอยภูคาดอกชมพูภูคา ต้นไม้ที่มีรายงานว่าพบเพียงแห่งเดียวในโลก ที่ อุทยานฯดอยภูคา จ. น่านช่วงเดือนกุมภาพันธ์เดือนแห่งความรัก สำหรับคนที่มีความรักหลายๆคนคงจะมีโลกที่สดใสมองเห็นอะไรเป็นสีชมพูไปหมด สำหรับที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน ช่วงนี้ก็มีสีชมพูโดดเด่นเช่นกัน แต่ว่าหาใช่สีชมพูที่เกิดจากความรัก หากแต่เป็นสีชมพูที่เกิดจากการผลิบานของดอก "ชมพูภูคา" (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl. ชื่อวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE) ต้นไม้พันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ซึ่งปัจจุบันมีรายงานการค้นพบในโลกเพียงที่เดียวคือที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โดยเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาเคยมีรายงานการสำรวจพบต้นชมพูภูคาทางตอนใต้ของประเทศจีนและทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบต้นไม้ชนิดนี้อีกเลย ทำให้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ไปแล้ว จนในปี พ.ศ. 2532 ดร.ธวัชชัย สันติสุข นักพฤกษศาสตร์ ได้ค้นพบต้นชมพูภูคาอีกครั้งที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาชมพูภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-25 เมตร จะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณป่าดงดิบ ตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล และมีความชื้นของอากาศสูง มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีค่อนต่ำ สำหรับลักษณะทั่วไปของ "ต้นชมพูภูคา" จะมีเปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวมีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ส่วนดอกเมื่อบานจะมีลักษณะคล้ายรูประฆัง กลีบดอกด้านนอกมีสีชมพูจางขาว และกลีบดอกด้านในมีสีชมพูลายเส้นสีม่วง ชูช่อเป็นพวงใหญ่ โดยปัจจุบันได้มีการทดลองเพาะกล้าไม้ชมพูภูคาเป็นผลสำเร็จ ซึ่งก็จะช่วยให้ต้นไม้ชนิดนี้ไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกของเรา สำหรับ "ดอกชมพูภูคา" จะออกดอกเบ่งบานระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ซึ่งผู้ที่สนใจก็สามารถไปชมดอกชมพูภูคา ได้ที่ "อุทยานแห่งชาติดอยภูคา" ซึ่งอุทยานแห่งนี้นอกจากจะมีดอกชมพูภูคาเป็นไฮไลท์แล้วก็ยังมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกอย่างเช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นบริเวณที่ทำการอุทยานฯ โดยในเส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้มีต้นชมพูภูคาเป็นพระเอก ส่วนพระรองก็มี ต้นเต่าร้างยักษ์ ซึ่งเป็นปาล์มที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ มีลำต้นสูงใหญ่กว่าต้นเต่าร้างทั่วไป เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 8-12 เมตร ดอยภูแว เป็นดอยสูงที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยทุ่งหญ้า โดยในช่วงฤดูหนาวมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินขึ้นสู่ยอดดอยภูแวเพื่อชมทิวทัศน์และชมพระอาทิตย์ขึ้น รวมถึงทะเลหมอกที่สวยงามซึ่งปกคลุมไปทั่วทั้งดอย ทั้งนี้ผู้ที่สนใจขึ้นดอยภูแวต้องติดต่อให้เจ้าหน้าที่นำทางป่าปาล์มดึกดำบรรพ์ บริเวณรอบๆ ดอยภูแว มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ เป็นป่าปาล์มธรรมชาติดงดิบ แทบจะไม่มีพันธุ์ไม้อื่นใดปะปน ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งเรียกว่า