นางพญาเสือโคร่ง
นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides) เป็นพืชดอกในวงศ์ Rosaceae พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง ลักษณะการชม ก็จะไปชมไกล ๆ แบบทัศนียภาพให้เห็นเกลื่อนไป ทั้งดอย ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ฉวีวรรณ, ชมพูภูพิงค์ (เหนือ) เส่คาแว่, เส่แผ่, แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากุระดอย (เชียงใหม่)
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน พบอยู่กในป่าที่ระดับความสูง 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลในประเทศไทย พบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,00-2,000 เมตร เช่น บนดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว ฯลฯ
- ลักษณะทางวัฒวิทยา :
นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 ฌวนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอก ออกดอระหว่างดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
- การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
- การปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ : ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย
- การใช้ประโยชน์ : ผลของพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน พบอยู่กในป่าที่ระดับความสูง 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลในประเทศไทย พบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,00-2,000 เมตร เช่น บนดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว ฯลฯ
- ลักษณะทางวัฒวิทยา :
นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 ฌวนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอก ออกดอระหว่างดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
- การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
- การปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ : ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย
- การใช้ประโยชน์ : ผลของพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม
*ที่มา wikipedia